หน้าเว็บ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง การสร้างสื่อประชาคมอาเซียนโดยโปรแกรม   Final cut pro

โครงงานคอมพิวเตอร์ 

เรื่อง การสร้างสื่อประชาคมอาเซียนโดยโปรแกรม   Final cut pro
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม   


จัดทำโดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6
  ปีการศึกษา  2558
รายวิชา  ง 30246    โครงงานคอมพิวเตอร์

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยีโรงเรียนกำแพงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28








เกี่ยวกับโครงงาน

โครงงานคอมพิวเตอร์


เรื่อง   การสร้างสื่อประชาคมอาเซียนโดยโปรแกรม

กลุ่มสาระการเรียนรู้   :   การงานอาชีพ และเทคโนโลยี

ผู้จัดทำ                  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6

ครูที่ปรึกษา            1. คุณครูสมยศ   พิมณุวงศ์                             
                                  ตำแหน่ง ครู


สถานศึกษา          โรงเรียนกำแพง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28











กิตติกรรมประกาศ

                โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงได้ด้วยความร่วมมือร่วมใจของสมาชิกในห้อง ที่ตั้งใจทำงานชิ้นนี้ขึ้นมาและต้องขอบพระคุณ คุณครูสมยศ พิมณุวงศ์  ครูประจำวิชาคอมพิวเตอร์และเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ให้คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับโครงงานมาโดยตลอดจนโครงงานเล่มนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
                ท้ายสุดนี้ผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า  โครงงานนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาของผู้ที่มีความ
สนใจเพื่อนำแนวคิดที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไป

                                                                                                                                                                    คณะผู้จัดทำ









หัวข้อโครงงาน             การสร้างสื่อประชาคมอาเซียนโดยโปรแกรม   Final cut pro
ประเภทของโครงงาน   โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา
ผู้เสนอโครงงาน            นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/6
ครูที่ปรึกษาโครงงาน    คุณครูสมยศ  พิมณุวงศ์
ปีการศึกษา  2558


บทคัดย่อ

                การจัดทำโครงงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน เพื่อคนที่สนใจในประชาคมอาเซียนจะได้มีความรู้ด้านนี้
                ผลการศึกษาและจัดทำโครงงานพบว่า การพัฒนาโครงงาน สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม และจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในพุทธศักราช 2558 นี้ คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้วางแผนไว้ และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านทางเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ต www.youtube.com ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์และรวดเร็วในการรับข้อมูล








สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                                                                        หน้า

เกี่ยวกับโครงงาน                                                                                                                                                       ก
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                                    ข
บทคัดย่อ                                                                                                                                                                    ค

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                                                                             1
                - หลักการและเหตุผล
                - วัตถุประสงค์
                - ผลที่คาดว่าจะได้รับ

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                                                                          2

บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ                                                                                                                        19
                - ขั้นตอนการดำเนินการ
                - วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                - วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน

บทที่ 4 ผลการศึกษา                                                                                                                                                  21

บทที่ 5 สรุปผลการดำเนินงาน                                                                                                                                  22
                - การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
                - สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
                - ข้อเสนอแนะ

บรรณนุกรม                                                                                                                                                              24
ภาคผนวก                                                                                                                                                                 25











 บทที่ 1
บทนำ


หลักการและเหตุผล
                ในยุคโลกาภิวัตน์ในปัจจุบันนี้ สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ประเทศต่างๆให้ความสำคัญกับการรวมตัวกันในภูมิภาคเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศ
                ประเทศอาเซียนจึงต้องปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงกำหนดให้มีการสร้างประชาคมอาเซียนขึ้นมาที่ประกอบไปด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ภายในปี 2563 ซึ่งต่อมาได้เลื่อนกำหนดเวลาสาหรับการรวมตัวกันให้เร็วขึ้นเป็นปี 2558  ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้จัดทำสื่อเพื่อศึกษาประชาคมอาเซียนขึ้นโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์หลายโปรแกรม อาทิเช่น โปรแกรม Final cut pro โปรแกรม Motion 5 โปรแกรม Adobe sound booth cs5
โปรแกรม Adobe Photo shop cs5  ในการจัดทำสื่อเพื่อการศึกษาประชาคมอาเซียน
                ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียนที่ส่งผลต่อด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง วัฒนธรรม และ ความมั่นคง คณะผู้จัดทำเล็งเห็นความสำคัญจึงสร้างรายงานนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนได้เข้าใจและเห็นความสำคัญของประชาคมอาเซียน

วัตถุประสงค์
           1. เพื่อสร้างเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
           2. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
           3.เพื่อคนที่สนใจในประชาคมอาเซียนจะได้มีความรู้ด้านนี้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
           1. ผู้สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
           2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์
           3. ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทาให้เกิดประโยชน์











บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง


ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน คณะผู้จัดทำได้ศึกษาข้อมูล เอกสารที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 ความหมายสื่อเพื่อการศึกษา
2.2 ประชาคมอาเซียน
2.3 ขั้นตอนการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
2.4 โปรแกรมที่ใช้ในการทำโครงงาน
                2.4.1 โปรแกรม Final cut pro
                2.4.2 โปรแกรม Motion 5
                2.4.3 โปรแกรม Adobe sound booth cs5
                2.4.4 โปรแกรม Adobe Photo shop cs5

2.1 ความหมายสื่อเพื่อการศึกษา
                เมื่อพิจารณาคำว่า "สื่อ" ในภาษาไทยกับคำในภาษาอังกฤษ พบว่ามีความหมายตรงกับคำว่า "media" (ในกรณีที่มีความหมายเป็นเอกพจน์จะใช้คำว่า "medium") "สื่อ" (Media) เป็นคำที่มาจากภาษาละตินว่า "medium" แปลว่า "ระหว่าง" หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุ ข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์
               คำว่า "สื่อ" ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้ให้ ความหมายของคำนี้ไว้ดังนี้ "สื่อ (กริยา) หมายถึง ติดต่อให้ถึงกัน เช่น สื่อความหมาย, ชักนำให้รู้จักกัน สื่อ (นาม) หมายถึง ผู้หรือสิ่งที่ติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน เช่น เขาใช้จดหมายเป็นสื่อติดต่อกัน, เรียกผู้ที่ทำหน้าที่ชักนำให้ชายหญิงได้แต่งงานกันว่า พ่อสื่อ หรือ แม่สื่อ; (ศิลปะ) วัสดุต่างๆ ที่นำมาสร้างสรรค์งานศิลปกรรม ให้มีความหมายตามแนวคิด ซึ่งศิลปินประสงค์แสดงออกเช่นนั้น เช่น สื่อผสม" 
นักเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการนิยามความหมายของคำว่า "สื่อ" ไว้ดังต่อไปนี้ 
             Heinich และคณะ (1996)  Heinich เป็นศาสตราจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีระบบการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยอินเดียน่า (Indiana University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "Media is a channel of communication." ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "สื่อ คือช่องทางในการติดต่อสื่อสาร" Heinich และคณะยังได้ขยายความเพิ่มเติมอีกว่า "media มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน มีความหมายว่า ระหว่าง (between) หมายถึง อะไรก็ตามซึ่งทำการบรรทุกหรือนำพาข้อมูลหรือสารสนเทศ สื่อเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างแหล่งกำเนิดสารกับผู้รับสาร
             " A. J. Romiszowski (1992) ศาสตราจารย์ทางด้านการออกแบบ การพัฒนา และการประเมินผลสื่อการเรียนการสอน ของมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ (Syracuse University) ให้คำจำกัดความคำว่า "media" ไว้ดังนี้ "the carriers of messages, from some transmitting source (which may be a human being or an inanimate object) to the receiver of the message (which in our case is the learner)" ซึ่งสรุปความเป็นภาษาไทยได้ดังนี้ "ตัวนำสารจากแหล่งกำเนิดของการสื่อสาร (ซึ่งอาจจะเป็นมนุษย์ หรือวัตถุที่ไม่มีชีวิต ) ไปยังผู้รับสาร (ซึ่งในกรณีของการเรียนการสอนก็คือ ผู้เรียน)" 
              ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า สื่อ หมายถึง สิ่งใดๆ ก็ตามที่เป็นตัวกลางระหว่างแหล่งกำเนิดของสารกับผู้รับสาร เป็นสิ่งที่นำพาสารจากแหล่งกำเนินไปยังผู้รับสาร เพื่อให้เกิดผลใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
ความหมายของสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้ 
                ความหมายของสื่อการสอน ได้มีนักวิชาการ และนักเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความหมายของ สื่อการสอนไว้หลายท่าน พอสรุปได้ ดังนี้
              เชอร์ส (Shores. 1960 : 1) กล่าวว่า สื่อการสอนเป็นเครื่องมือช่วยสื่อความหมายใด ๆ ก็ตามที่จัดโดยครูและนักเรียน เพื่อเสริมการเรียนรู้ เครื่องมือการสอนทุกชนิดเป็นสื่อการสอน เช่น หนังสือในห้องสมุด โสตทัศนวัสดุต่าง ๆ ทรัพยากรจากชุมชน เป็นต้น
            ฮาส และแพคเกอร์ (Hass and PacKer. 1964 : 11) กล่าวว่า สื่อการสอน คือ เครื่องมือที่ช่วยในการถ่ายทอดสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นจริงได้แก่ ทักษะ ทัศนะคติ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งไปยังผู้เรียน หรือเป็นเครื่องมือประกอบการสอน ที่เราสามารถได้ยินและมองเห็นได้เท่า ๆ กัน 
                             บราวน์ และคนอื่น ๆ (Brown and other. 1964 : 584) กล่าวว่า สื่อการสอนหมายถึง จำพวกอุปกรณ์ทั้งหลายที่สามารถเสนอความรู้ให้แก่ผู้เรียนจนเกิดผลการเรียนที่ดีทั้งนี้รวมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ไม่เฉพาะที่เป็นวัสดุหรือเครื่องมือเท่านั้น เช่น การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทดลอง ตลอดจนการสัมภาษณ์ เป็นต้น
              เกอร์ลัช และอีลี (ไชยยศ เรืองสุวรรณ. 2526 :141 : อ้างอิงมาจาก Gerlach and Ely.) ได้ให้คำจำกัดความของสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน คือ บุคคล วัสดุหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งทำให้นักเรียนได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ครู หนังสือ และสิ่งแวดล้อมของโรงเรียนจัดเป็นสื่อการสอนทั้งสิ้น 
               ไฮนิคส์ โมเลนดาและรัสเซล (Heinich, Molenda and Russel. 1985 : 5) ให้ทัศนะเกี่ยวกับสื่อการสอนไว้ว่า สื่อการสอน หมายถึง สื่อชนิดใดก็ตามไม่ว่าจะเป็นสไลด์โทรทัศน์วิทยุเทปบันทึกเสียงภาพถ่ายวัสดุฉาย และวัตถุสิ่งตีพิมพ์ซึ่งเป็นพาหนะในการนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไปยังผู้รับ เมื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอน หรือส่งเนื้อหาความรู้ไปยังผู้เรียนในกระบวนการเรียนการสอน เรียกว่า สื่อการสอน 
                            เปรื่อง กุมุท (2519 : 1) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องมือ หรือช่องทางสำหรับทำให้การสอนของครูถึงผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่วางไว้อย่างดี 
                วาสนา ชาวหา(2522:59)กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งใดๆก็ตามที่เป็นตัวกลางนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้การเรียนการสอนเป็นไป ตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  
              ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2526 : 4) กล่าวว่า สื่อการสอน หมายถึง สิ่งที่ช่วยให้การเรียนรู้ ซึ่งครูและนักเรียนเป็นผู้ใช้เพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 
              ชม ภูมิภาค (2526 : 5) กล่าวว่า สื่อการสอนนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีการสอน เป็นพาหนะที่จะนำสารหรือความรู้ไปยังผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ 
               ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2529 : 112) ให้ความหมายของสื่อการสอนว่า คือวัสดุ (สิ้นเปลือง) อุปกรณ์ (เครื่องมือที่ใช้ไม่ผุพังง่าย) วิธีการ (กิจกรรม เกม การทดลอง ฯลฯ) ที่ใช้สื่อกลางให้ผู้สอนสามารถส่ง หรือถ่ายทอดความรู้ เจตคติ (อารมณ์ ความรู้สึก ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม) และทักษะไปยังผู้เรียน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
                    พิมพ์พรรณ เทพสุมาธานนท์ (2531 : 29) กล่าวว่าสื่อการสอนหมายถึงสิ่งต่างๆที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับให้การสอนของครูกับผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้เป็นอย่างดี 
                  สรุปได้ว่า สื่อการสอน หมายถึงวัสดุ เครื่องมือและเทคนิควิธีการที่ผู้สอนนำมาใช้ประกอบการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

2.2 ประชาคมอาเซียน
 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อังกฤษ: Association of South East Asian Nations) หรือ อาเซียน เป็นองค์กรทางภูมิรัฐศาสตร์และองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า อาเซียนมีพื้นที่ราว 4,435,670 ตารางกิโลเมตร มีประชากรราว 590 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2553 จีดีพีของประเทศสมาชิกรวมกันคิดเป็นมูลค่าราว 1.8 ล้าน ล้านดอลล่าสหรัฐ คิดเป็นลาดับที่ 9 ของโลกเรียงตามจีดีพี มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการอาเซียนมีจุดเริ่มต้นจากสมาคมอาสา ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อไทยเสียดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาในปี พ.ศ. 2505 ต่อมาในปีพ.ศ. 2510 ได้มีการลงนามใน ปฏิญญากรุงเทพ อาเซียนได้ถือกำเนิดขึ้นโดยมีรัฐสมาชิกเริ่มต้น 5 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การพัฒนาสังคม วัฒนธรรมในกลุ่มประเทศสมาชิก และการธำรงรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค และเปิดโอกาสให้คลายข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอย่างสันติ หลังจาก พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา อาเซียนมีรัฐสมาชิกเพิ่มขึ้นจนมี 10 ประเทศในปัจจุบัน กฎบัตรอาเซียนได้มีการลงนามเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 ซึ่งทาให้อาเซียนมีสถานะคล้ายกับสหภาพยุโรปมากยิ่งขึ้น เขตการค้าเสรีอาเซียนได้เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2553 และกาลังก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียน ซึ่งจะประกอบด้วยสามด้าน คือ ประชาคมอาเซียนด้านการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 สมาคมอาสาและปฏิญญากรุงเทพ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีจุดเริ่มต้นนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2504 โดยประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ได้ร่วมกันจัดตั้ง สมาคมอาสา (ASA, Association of South East Asia) ขึ้นเพื่อการร่วมมือกันทาง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม แต่ดาเนินการได้เพียง 2 ปี ก็ต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากความผกผันทางการเมืองระหว่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย และการเสีย
ดินแดนปราสาทพระวิหารให้กัมพูชาของไทย จนเมื่ออินโดนีเซียและมาเลเซียฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างกัน จึงได้มีการแสวงหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจขึ้นในภูมิภาค "สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" และถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยสมัยรัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร โดยมีการลงนาม "ปฏิญญากรุงเทพ" ที่พระราชวังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อาดัม มาลิกแห่งอินโดนีเซียนาร์ซิโซ รามอสแห่งฟิลิปปินส์อับดุล ราซัคแห่งมาเลเซียเอส. ราชารัตนัมแห่งสิงคโปร์ และถนัด คอมันตร์แห่งไทย ซึ่งถูกพิจารณาว่าเป็นบิดาผู้ก่อตั้งองค์กรในปัจจุบัน สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจานวน 10 ประเทศ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 4.5 ล้านตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 560 ล้านคน (ข้อมูลในปี พ.ศ. 2549) ยอดเขาที่สูงสุดในภูมิภาค คือ ยอดเขาข่ากาโบราซีในประเทศสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งมีความสูง 5,881 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อกับจีน อินเดีย บังกลาเทศและประเทศสังเกตการณ์อาเซียน คือ ปาปัวนิวกินี ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้น อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 27-36 °C พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าฝนเขตร้อน ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลก ป่าดงดิบ ป่าเบญจพรรณ ป่าสน ป่าหาดทรายชายทะเล ป่าไม้ปลูก มีพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าว ข้าวโพด มันสาปะหลัง สับปะรด ยางพารา ปาล์มน้ามันและพริกไทย จากสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการสรุปแนวทางของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไว้จานวนหกข้อ ดังนี้ ให้ความเคารพแก่เอกราช อำนาจอธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติสมาชิกทั้งหมด รัฐสมาชิกแต่ละรัฐมีสิทธิที่จะปลอดจากการแทรกแซงจากภายนอกการรุกรานดินแดนและการบังคับขู่เข็ญจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของรัฐสมาชิกอื่น ๆยอมรับในความแตกต่างระหว่างกัน หรือแก้ปัญหาระหว่างกันอย่างสันติประณามหรือไม่ยอมรับการคุกคามหรือการใช้กาลังให้ความร่วมมือระหว่างกันอย่างมีประสิทธิภาพ
อาเซียนหรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN : The Association of South East Asian Nations) ได้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2510 โดยประเทศผู้ก่อตั้งอาเซียน คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ต่อมาในปีพ.ศ.2527 บรูไน ดารูสซาลาม ได้เข้ามาเป็นสมาชิก ตามด้วยเวียดนามเข้ามาเป็นสมาชิกเมื่อ พ.ศ. 2538 ขณะที่พม่าและลาวเข้ามาเป็นสมาชิกใน พ.ศ.2540 และประเทศสุดท้ายคือกัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน เมื่อ พ.ศ. 2542 ปัจจุบันอาเซียนมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ
                1.บรูไนดารูสซาลาม (Brunei Darussalam) 1.บรูไนดารุสาลาม ประเทศบรูไน มีชื่อเป็นทางการว่า "เนการาบรูไนดารุสซาลาม" มีเมือง "บันดาร์เสรีเบกาวัน" เป็นเมืองหลวง ถือเป็นประเทศที่มีขนาดไม่ใหญ่นัก เพราะมีพื้นที่ประมาณ 5,765 ตารางกิโลเมตร ปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราช โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีประชากร 381,371 คน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรเกือบ 70% นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ
                2.ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia) เมืองหลวงคือ กรุงพนมเปญ เป็นประเทศที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศไทยทางทิศเหนือ และทิศตะวันตก มีพื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร หรือขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทย มีประชากร 14 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2550) โดยประชากรกว่า 80% อาศัยอยู่ในชนบท 95% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ แต่ก็มีหลายคนที่พูดภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และเวียดนามได้
                3.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) เมืองหลวงคือ จาการ์ตา ถือเป็นประเทศหมู่เกาะขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากถึง 240 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) โดย 61% อาศัยอยู่บนเกาะชวา ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม และใช้ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ
                4.สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR) เมืองหลวงคือ เวียงจันทน์ ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก โดยประเทศลาวมีพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย คือ 236,800 ตารางกิโลเมตร พื้นที่กว่า 90% เป็นภูเขาและที่ราบสูง และไม่มีพื้นที่ส่วนใดติดทะเล ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยม โดยมีประชากร 6.4 ล้านคน ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาหลัก แต่ก็มีคนที่พูดภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศสได้ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
  5.ประเทศมาเลเซีย (Malaysia) เมืองหลวงคือ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตศูนย์สูตร แบ่งเป็นมาเลเซียตะวันตกคาบสมุทรมลายู และมาเลเซียตะวันออก ตั้งอยู่บนเกาะบอร์เนียว ทั้งประเทศมีพื้นที่ 329,758 ตารางกิโลเมตร จานวนประชากร 26.24 ล้านคน นับถือศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจาชาติ ใช้ภาษา Bahasa Melayu เป็นภาษาราชการ
                6.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Republic of the Philippines) เมืองหลวงคือ กรุงมะนิลา ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ รวม 7,107 เกาะ โดยมีพื้นที่ดิน 298.170 ตารางกิโลเมตร มีประชากร 92 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเป็นอันดับ 4 ของโลก มีการใช้ภาษาในประเทศมากถึง 170 ภาษา แต่ใช้ภาษาอังกฤษ และภาษาตากาลอก เป็นภาษาราชการ
                7.สาธารณรัฐสิงคโปร์ ( The Republic of Singapore) เมืองหลวงคือ กรุงสิงคโปร์ ตั้งอยู่บนตาแห่งยุทธศาสตร์ที่เป็นศูนย์กลางคมนาคมทางเรือของอาเซียน จึงเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจมากที่สุดในย่านนี้ แม้จะมีพื้นที่ราว 699 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น มีประชากร 4.48 ล้านคน ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ แต่มีภาษามาเลย์เป็นภาษาประจาชาติ ปัจจุบันใช้การปกครองแบบสาธารณรัฐ (ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีสภาเดียว)
                8.ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) เมืองหลวงคือกรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ 513,115.02 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วย 77 จังหวัด มีประชากร 65.4 ล้านคน (ข้อมูลปี พ.ศ.2553) ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นองค์ประมุขของประเทศ
                9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) เมืองหลวงคือ กรุงฮานอย มีพื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร จากการสารวจถึงเมื่อปี พ.ศ.2553 มีประชากรประมาณ 88 ล้านคน ประมาณ 25% อาศัยอยู่ในเขตเมือง ส่วนใหญ่ร้อยละ 70 นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ปัจจุบัน ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
                10.สหภาพพม่า (Union of Myanmar) มีเมืองหลวงคือ เนปิดอว ติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันออก โดยทั้งประเทศมีพื้นที่ประมาณ 678,500 ตารางกิโลเมตร ประชากร 48 ล้านคน กว่า 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท หรือหินยาน และใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งประชาคมอาเซียน
                ประชาคมอาเซียน ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เริ่มแรกเพื่อสร้างสันติภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันนามาซึ่งเสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และเมื่อการค้าระหว่างประเทศในโลกมีแนวโน้มกีดกันการค้ารุนแรงขึ้น ทาให้อาเซียนได้หันมามุ่งเน้นกระชับและขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างกันมากขึ้น วัตถุประสงค์หลักที่กำหนดไว้ในปฏิญญาอาเซียน (The ASEAN Declaration) มี 7 ประการ ดังนี้
             1. ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคมและวัฒนธรรม 
2. ส่งเสริมการมีเสถียรภาพ สันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค
                3. ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ วิทยาศาสตร์และด้านการบริหาร 
4. ส่งเสริมความร่วมมือซึ่งกันและกันในการฝึกอบรมและการวิจัย
                5. ส่งเสริมความร่วมมือในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การค้า การคมนาคม การสื่อสาร และ ปรับปรุงมาตรฐานการดารงชีวิต
                6. ส่งเสริมการมีหลักสูตรการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
7. ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรระดับภูมิภาคและองค์กรระหว่างประเทศ


2.3 ขั้นตอนการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
                สื่อที่นิยมใช้ในงานประชาสัมพันธ์มากกว่าสื่ออื่นใด ในปัจจุบันนี้ก็คือ สื่อวีดีทัศน์ วีดีทัศน์ หรือ วิดีโอ (Video) เป็นการนาเอาโทรทัศน์ (Television) หรือเนื้อหาทางวิชาการ นโยบาย การประมวลกิจกรรมการดาเนินงาน มาจัดทาเป็นรายการสั้น ๆ ใช้เป็นสื่อเพื่อการนาเสนอ การอธิบาย การสอน หรือเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งตามความต้องการของผู้ผลิต วีดีทัศน์เป็นผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการทางานอย่างมีระบบของคณะทางาน ซึ่งจะเรียกเป็นผู้ผลิต หน่วยผลิต ฝ่ายผลิต หรือบริษัทผลิตรายการ (Prodution House) เพื่อให้ได้มาซึ่งงานวีดีทัศน์ ตามความประสงค์ของงานหรือองค์กร กระบวนการดังกล่าวเรียกเป็นกระบวนการผลิตรายการซึ่งมีเทคนิคขั้นตอนดังต่อไปนี้
                1. การวางแผนการผลิต (Planning)
                                   ในขั้นตอนนี้เป็นการระดมความคิด ความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ผู้ผลิตรายการ ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายเนื้อหา ผู้ออกแบบฉากเวที และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชุมปรึกษาถึงประเด็นการผลิตรายการว่าจะผลิตให้ใครดู หมายถึง กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ดู ผู้ชม และในการผลิตรายการนั้นจะแสดงถึงอะไรบ้าง จะให้ผู้ชมได้รู้ ได้เห็นเกี่ยวกับอะไร ประเด็นสุดท้ายในการวางแผนก็คือ ผลิตรายการออกมาแล้วคาดหวังผลอย่างไร หรือเพื่อจุดประสงค์อะไรบ้าง
                2. การเขียนบท (Script)
                                   บทโทรทัศน์ หรือ บทวีดีทัศน์ เป็นการนาเอาเนื้อหาเรื่องราวที่มีอยู่หรือจินตนาการขึ้นมา เพื่อการนาเสนอให้ผู้ดู ผู้ชม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ผู้เขียนบทวีดีทัศน์ (Script Writer) จึงจาเป็นต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ มีความเข้าใจในธรรมชาติการรับรู้ของมนุษย์ ความศรัทธา สิ่งละอันพันละน้อย ที่จะไปทาให้กระทบกระทั่ง หรือกระทาในสิ่งที่ผิดไปจากที่สังคมยอมรับ บทวีดีทัศน์ควรจะมีการใช้ภาษาที่สละสลวย ชวนอ่าน ชวนฟัง มีการเกริ่นนา การดาเนินเรื่องและบทสรุปที่กระชับ สอดคล้องกัน รู้จักสอดแทรกมุขตลกเกร็ดความรู้ หรือเทคนิคแปลก ๆ มีลีลาที่น่าสนใจ เพื่อเป็นสีสันของเรื่องราว การเขียนบทวีดีทัศน์จะมีทั้งการร่างบทวีดีทัศน์และการเขียนบทวีดีทัศน์ฉบับสมบูรณ์ ร่างบทโทรทัศน์เป็นการวางโครงเรื่อง (Plot) ของรายการแต่ละรายการ ปกติจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเกริ่นนา (Introduction) เนื้อเรื่องหรือตัวเรื่อง (Body) และการสรุปหรือการส่งท้าย (Conclusion) การเขียนร่างบทจะเป็นการกำหนดเรื่องราวที่นาเสนอ นาเอาแก่นของเรื่อง (Theme) หรือความคิดรวบยอด (Concept) ของเรื่องมาคลี่คลาย มาขยายให้เห็นอย่างเป็นขั้นตอน มีการสอดแทรกอารมณ์ มีการหักมุม สร้างความฉงน นาเรื่องราวไปสู่จุดสุดยอด (Climax) ให้ได้ดีที่สุดร่างบทวีดีทัศน์เขียนเป็นความเรียง ที่ใช้ภาษาสละสลวย ทันสมัย สอดแทรกสาระ เกร็ดความรู้และสร้างความประทับใจ อาลัยอาวรณ์ ในที่สุด บทวีดีทัศน์ฉบับสมบูรณ์ (Full Script) หรือเรียกเป็นบทสาหรับถ่ายทา (Shooting Script) เป็นการนาเอาร่างบทมาขยายอย่างละเอียด ในลักษณะของการถ่ายทา ซึ่งจะมีลักษณะของภาพขนาดของภาพ กำหนดกล้องและการแสดงของผู้แสดง หรือ เหตุการณ์นั้น อย่าง
สมจริงคณะทางาน หรือผู้ผลิตรายการจะยึดการปฏิบัติงานตามบทวีดีทัศน์นี้ แต่ลักษณะที่เป็นจริงบท วีดีทัศน์อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบทบ้าง ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์นั้น
                3. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ (Preparation)
                  ในการเตรียมเพื่อการผลิตรายการนั้น คณะทางานจะเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีส่วนเอื้ออานวยต่อการทางาน เครื่องมือ อุปกรณ์ ในการถ่ายทา เตรียมสถานที่ เตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งพร้อมที่จะทางานได้ทันทีในกรณีที่ มีการเสริมแต่ง หรือแก้ไขปัญหาการถ่ายทา เพราะความไม่พร้อมของเรื่องราวเหตุการณ์และสถานที่ยิ่งต้องมีการเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพื่อจาลองสถานการณ์ให้สมจริง เท่าที่จะทาได้ให้ดีที่สุด
               
4. การบันทึก (Recording)                    
                                   กระบวนการถ่ายทา จะดาเนินไปตามแผนที่ได้วางไว้ และถ่ายทาตามบท โดยมุ่งให้ได้ภาพตรงตามความต้องการมากที่สุด อาจจะถ่ายทาหลาย ๆ ครั้ง ในฉากใดฉากหนึ่ง เพื่อมาคัดเลือกหาภาพที่ดีในตอนจะตัดต่ออีกครั้งหนึ่ง ในการบันทึกแบ่งเป็น บันทึกภาพและบันทึกเสียงซึ่งการบันทึกภาพนั้นจะได้ทั้งภาพทั้งเสียงอยู่แล้ว เมื่อตัดต่อสามารถเลือกได้ว่า ช่วงไหนจะใช้แต่ภาพ หรือใช้ทั้งภาพและเสียง การบันทึกภาพ บันทึกหรือถ่ายทาตามสภาพความเป็นจริง และความจาเป็นก่อนหลัง ไม่จาเป็นต้องเรียงฉาก ตามบทวีดีทัศน์ (Script) ในการบันทึกเสียง จะบันทึกทั้งเสียงเหตุการณ์จริง เสียงสัมภาษณ์ เสียงสนทนา เสียงบรรยาย เสียงเพลงประกอบ และเสียงเหตุการณ์หรือเสียงที่นามาใช้เป็นเอฟเฟค (Sound Effect) ให้เรื่องราวน่าสนใจซึ่งกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องเสียง จะมีการผสมเสียงอีกครั้งหนึ่ง ในกระบวนการตัดต่อภาพและเสียง
                ข้อสำคัญในการทาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อวีดีทัศน์ในการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อจุดมุ่งหมายใด ๆ ก็ตาม คณะทางานควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้องาน นโยบายและกิจกรรมขององค์กร พื้นฐานของงานโทรทัศน์ หรือ การทาวีดีทัศน์ไว้บ้าง เพื่อการสร้างงาน การคิดสร้างสรรค์ จะได้หลากหลาย น่าสนใจ และที่สำคัญจะช่วยให้งานดาเนินไปได้อย่างราบรื่น บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ควรรู้ ควรเข้าใจมีมากมาย อาทิ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เทคนิคกล้อง ชนิดของภาพ การลาดับภาพและตัดต่อภาพ การนาเสียงมาใช้ในงานวีดีทัศน์ตลอดจนการใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์ข้อควรจาในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อวีดีทัศน์เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สื่อวีดีทัศน์ เป็นสื่อที่มีความพร้อมในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งได้รวบรวมเอาความโดดเด่นของรูปแบบ และแนวทางการนาเสนอที่สมบูรณ์ครบถ้วนไว้ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ คอมพิวเตอร์กราฟิก และเทคนิคพิเศษอีกมากมายหน่วยงานหรือองค์กรใด จะผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ นอกจากจะเข้าใจถึงคุณสมบัติที่น่าสนใจดังกล่าวแล้ว ควรพิจารณาถึงประเด็นเรื่องราว
ต่าง ๆ เช่น
                • จะผลิตสื่อวีดีทัศน์ สาหรับกลุ่มเป้าหมายใด การผลิตวีดีทัศน์ ควรเลือกให้เหมาะกับกลุ่มผู้ดูผู้ชม เพราะเนื้อหาเรื่องราว จะมีความเข้มข้น หรือละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกัน
                • การผลิตสื่อวีดีทัศน์ต้องการแสดงถึงเนื้อหาสาระมากน้อยแค่ไหน ประเด็นของเรื่องราวหรือแก่นแท้ (Theme) จะแสดงถึงอะไรบ้าง
                • การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์นี้ คาดหวังผลอะไรบ้าง ถ้าหากรู้ถึงวัตถุประสงค์หรือความคาดหวังถึงผลที่ได้จากสื่อที่ผลิต จะช่วยให้เนื้อหาเรื่องราวในวีดีทัศน์ตรงประเด็นได้มากขึ้น
                • ในกระบวนการผลิตวีดีทัศน์ได้มีการประสานงานกับบุคลากรระดับสูงผู้บังคับบัญชา หรือผู้เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดเพื่อความเข้าใจในเรื่องราวเพื่อความถูกต้องและการประสานสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
                • ผู้ผลิตควรเข้าใจถึงประเด็นในการทาวีดีทัศน์ ถึงความเหมาะสมของเรื่องราวความโดดเด่น หรือความน่าจะเป็นของการเลือกสิ่งที่นาเสนอ ทั้งบุคลากร สถานที่กิจกรรมหรือเหตุการณ์ตลอดจนข้อมูลต่างๆ พยายามหามุมมองที่มีคุณค่า เลือกสิ่งที่น่าสนใจออกมานาเสนอซึ่งบางครั้งอาจมีการเสริมแต่งบ้างก็ควรต้องเลือก ต้องพยายาม เพื่อให้ได้สื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ
                • คณะทางานควรเปิดใจกว้าง ในการวิพากษ์และตรวจทานผลงาน เพื่อจะได้ปรับปรุงและสรรค์สร้างงานให้มีประสิทธิภาพ

2.4 โปรแกรมที่ใช้ในการทำโครงงาน
                ในการจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน ให้ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน คณะผู้จัดทำได้ใช้โปรแกรมที่ใช้ในการทำโครงงาน ดังนี้

                2.4.1 โปรแกรม Final cut pro

                                การศึกษา การผลิตสื่อวีดิทัศน์ โดยโปรแกรม Final Cut Pro X” เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอจาก  Apple เวอร์ชั่น 10 มีรูปแบบ Interface แบบใหม่ รวมถึงเครื่องมือต่างๆ ได้ถูกออกแบบให้ใช้งานสะดวก และมีประสิทธิภาพสูง พร้อมได้นำวิธีการตัดต่อวีดีโอด้วยรูปแบบใหม่ๆ หลังจากตัดต่อวีดีโอเรียบร้อยแล้ว สามารถนำไปใช้งานได้อย่างง่ายๆ เช่น ส่งไปยัง YouTube,DVD,iPhone,iPad  การใช้โปรแกรม Final Cut Pro x เบื้องต้น



 ส่วนประกอบของ Final Cut Pro x
                                หลังจากติดตั้งโปรแกรมเรียบร้อยแล้ว เมื่อเปิดใช้งานก็จะพบหน้าต่าง Final Cut Pro x ซึ่ง  ประกอบไปด้วย 5 ส่วนหลักๆคือ Event library,Viewer,Inspector,Timeline, และ Media Browser
                     1. หน้าต่าง Event library
                                ใช้สำหรับจัดเก็บ Footageและมีเดียต่างๆ ที่จะนำมาใช้ในการตัดต่อ จากการ Import เข้ามาในโปรแกรม เช่น คลิปภาพ คลิปเสียง รวมทั้งภาพนิ่ง ภาพกราฟิกต่างๆ ส่วนด้านขวามือของ Eventlibrary จะแสดงเป็นภาพตัวอย่างของมีเดียต่างๆ



                       2. หน้าต่าง Viewer
                                เป็นหน้าต่างใช้แสดงภาพของมีเดียที่กำลังเลือกอยู่ใน Event library และกำลังแสดงตัวอย่างวีดีโอที่กำลังตัดต่ออยู่บน Timeline จากผลลัพธ์การปรับแต่งภาพและเสียงในการตัดต่อ สามารถเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับแก้ใส่เอฟเฟ็คของภาพได้



                     3. หน้าต่าง Inspector
                                เป็นหน้าต่างสำหรับแสดงรายละเอียดของคลิป ไฟล์ภาพ ไฟล์เสียง หรือมีเดียอื่นๆ สำหรับตรวจสอบ และปรับแต่งแก้ไขคลิปนั้น


                    4. หน้าต่าง Timeline
                                เป็นหน้าต่างใช้สำหรับการน าคลิปภาพและเสียงมาวางเรียงต่อกันเป็นเรื่องราวตั้งแต่
เริ่มต้นจนสิ้นสุด สามารถปรับแต่งแก้ไขมีเดียได้ เปรียบเสมือนโต๊ะทำงานที่ใช้ในการตัดต่อ โดยจะแสดงผลลัพธ์ที่หน้าต่าง Viewer



                  5. หน้าต่าง Media Browser
                            เป็นที่สำหรับเก็บรูปแบบของ Effect,photo,Sound,Transition,Title,Generetor,Theme,  ที่นำมาใช้กับคลิปใน Timeline เพื่อปรับแต่งและเพิ่มลูกเล่นให้กับงานให้เกิดความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น



             2.4.2 โปรแกรม Motion 5

                                หลังจากที่แอปเปิลได้สร้างความฮือฮาให้กับวงการภาพยนตร์ด้วยการออกซอฟต์แวร์ Final Cut Pro สำหรับการใช้งานตัดต่อระดับมืออาชีพมาแล้ว เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา แอปเปิลก็ได้ก้าวเข้าสู่แวดวงมายาอีกก้าว ด้วยการเปิดตัวซอฟต์แวร์สำหรับทำเอฟเฟกต์สำหรับภาพยนตร์โดยเฉพาะให้กับผู้ที่ใช้งานทางด้านนี้ได้ใช้กัน



                              เมื่อก่อนหน้านี้ผู้ที่ทำงานด้านการตัดต่อภาพยนตร์ส่วนใหญ่ เมื่อต้องการทำเอฟเฟกต์หรือลูกเล่นต่างๆ มักจะใช้ซอฟต์แวร์จากค่าย Adobe ที่ชื่อว่า Adobe After Effect และโปรแกรมการทำงานที่ใช้ในการตัดต่อภาพยนตร์บนเครื่องแอปเปิลของค่าย Adobe ก็คือ Adobe Premiere แต่เมื่อปีที่แล้วหลังจากที่แอปเปิลได้ออก Final Cut Pro มายึดครองตลาดการทำงานตัดต่อบนเครื่องแอปเปิล ทำให้ทาง Adobe ได้ประกาศยุติการพัฒนา Adobe Premiere บนแมค แต่ยังออกเวอร์ชั่นใหม่ๆ บน Windows ทำให้หลายคนวิตกกังวลว่า Adobe After Effect อาจจะถูกแช่เย็นไปด้วย หลังจากที่แอปเปิลเปิดตัวซอฟต์แวร์ใหม่ Motion แล้วคงจะทำให้ผู้ที่ใช้งานคงจะอุ่นใจกันได้บ้าง เพราะความจริงแล้วถือว่า แอปเปิลได้ทำการพัฒนาโปรแกรมตัวนี้ออกมาได้ถูกเวลาจริงๆ แถมความสามารถในการทำงานนั้นดูรวมๆ แล้วเหนือกว่า After Effect มาก (ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.apple.com/motion/specs.html)
                                จุดเด่นของซอฟต์แวร์นี้ก็คือ รูปแบบที่เป็นลักษณะ Real-Time Design พร้อม Interface ที่ดูง่ายตามสไตล์ของแอปเปิล สามารถนำข้อมูลจาก Photoshop ที่ยังเป็น Layer พร้อม Effect ประเภท Transparency หรือการ Blend มาใช้งานได้ และสามารถใช้งานร่วมกับ Plug-in ของ Adobe After Effect ได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังสามารถสร้าง Effect ประเภทการจำลองปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น แรงดึงดูดของโลก หรือกระแสลม ได้อีกด้วย
                                สำหรับโปรแกรม Motion นี้ ต้องทำงานกับเครื่องที่มีสมรรถนะสูงพอสมควร โดยตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ขั้นต่ำก็คือ เครื่องต้องเป็น PowerPC G4 867 MHZ ขึ้นไป ระบบปฏิบัติการ 10.3.3 การ์ดกราฟฟิก NVIDIA DeForce FX 5200 Ultra, ATI Mobility Radeon 9600 หรือ ATI Radeon 9600 Pro ขึ้นไป ทั้งหมดนี้เป็นข้อกำหนดขั้นต่ำ แต่ความจริงแล้วข้อกำหนดที่เราสามารถใช้งานโปรแกรมนี้ได้อย่างราบรื่นระดับมืออาชีพจริงๆ ต้องมีรายละเอียดของเครื่องดังต่อไปนี้ เครื่องคอมพิวเตอร์เพาเวอร์แมคจี 5 Dual 2GHz หน่วยความจำ 4 GB ระบบปฏิบัติการ Mac OSX 10.3.3 การ์ดกราฟฟิก ATI Radeon 9800 Pro หรือสูงกว่า
                                สำหรับซอฟต์แวร์ Motion จะเริ่มออกวางตลาดในช่วงฤดูร้อนที่อเมริกา ในราคาประมาณ 299 เหรียญ โดยสรุปแล้วในขณะนี้แอปเปิลได้มีซอฟต์แวร์ที่ใช้งานสำหรับมืออาชีพทางด้านการตัดต่อภาพยนตร์และดนตรีก็มี Final Cut Pro HD ซึ่งเป็นเวอร์ชั่นล่าสุดและคว้ารางวัล Emmy Award, DVD Studio Pro 3, Shake 3.5, Soundtrack และ Logic Pro 6 โดยสามารถศึกษารายละเอียด และการใช้งานได้ที่ www.apple.com

                                นอกจากการเปิดตัวซอฟต์แวร์ใหม่ของแอปเปิลแล้ว ในเดือนนี้แอปเปิลยังได้มีการเปิดตัว PowerBook ตัวใหม่ที่ใช้ชิพ Power PC G4 ความเร็ว 1.5 GHz ทั้งรุ่นขนาด 17 นิ้ว และ 15 นิ้ว และใน PowerBook รุ่นใหม่ที่ออกมานี้ทุกตัวได้ติดตั้ง AirPort Extreme 54Mbps 802.11g มาให้คุณสามารถใช้งานในระบบไร้สายได้อย่างสมบูรณ์ นอกจาก PowerBook แล้ว ทางแอปเปิลยังได้ออก iBook G4 ตัวใหม่ที่ใช้ Power PC ความเร็ว 1.2 GHz ออกมา ให้ชาวแมคต้องเกิดอาการคันไม้คันมือกันอีกแล้ว

                2.4.3 โปรแกรม Adobe sound booth cs5
                                เป็นเครื่องมือที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยมืออาชีพในการผลิตงานออดิโอคุณภาพสูง บันทึก, อีดิต และปรับแต่งออดิโอและเพลงได้อย่างรวดเร็วสำหรับการใช้งานบนเว็บ รวมถึงการผลิตวีดีโอ ช่วยให้จัดการกับซาวด์แทร็กได้อย่างรวดเร็วและประสิทธิภาพสูง และแน่นอน


               2.4.4  โปรแกรม Adobe Photo shop cs5
                           อะโดบี โฟโตชอป (Adobe Photoshop) มักเรียกสั้นๆ ว่า โฟโตชอป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีความสามารถในการจัดการแก้ไขและตกแต่งรูปภาพ (photo editing and retouching) แบบแรสเตอร์ ผลิตโดยบริษัทอะโดบีซิสเต็มส์ ซึ่งผลิตโปรแกรมด้านการพิมพ์อีกหลายตัวที่ได้รับความนิยม เช่น Illustrator และ InDesign ปัจจุบันโปรแกรมโฟโตชอปได้พัฒนามาถึงรุ่น CC (Creative Cloud)

                            ประวัติ   นักศึกษาปริญญาเอกจากมิชิแกนชื่อ ธอมัส โนล (Thomas Knoll) ได้สร้างซอฟต์แวร์สำหรับทำภาพสีเฉดเทาขาวดำในชื่อ "ดิสเพลย์" (Display)ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนามาเป็นโฟโต้ชอปในปัจจุบันบริษัทอะโดบีได้พัฒนาโฟโตชอปให้สามารถใช้งานกับไมโครซอฟท์วินโดวส์ได้ ในโฟโตชอปรุ่น 2.5 หลังจากที่พัฒนารุ่นแรกสำหรับเครื่องแมคอินทอชเท่านั้น และได้พัฒนาต่อเนื่องมาจนกระทั่งรุ่นปัจจุบัน รุ่น CC          

                             ตกแต่งภาพ   โปรแกรมโฟโตชอปเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการจัดการไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่มีประสิทธิภาพ การทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพของโฟโตชอปนั้น ส่วนใหญ่จะทำงานกับไฟล์ข้อมูลรูปภาพที่จัดเก็บข้อมูลรูปภาพแบบ Raster โฟโตชอปสามารถใช้ในการตกแต่งภาพได้หลากหลาย เช่น ลบตาแดง, ลบรอยแตกของภาพ, ปรับแก้สี, เพิ่มสีและแสง หรือการใส่เอฟเฟกต์ให้กับรูป เช่น ทำภาพสีซีเปีย, การทำภาพโมเซค, การสร้างภาพพาโนรามาจากภาพหลายภาพต่อกัน นอกจากนี้ยังใช้ได้ในการตัดต่อภาพ และการซ้อนฉากหลังเข้ากับภาพ



                         โฟโตชอปสามารถทำงานกับระบบสี RGB, CMYK, Lab และ Grayscale และสามารถจัดการกับไฟล์รูปภาพที่สำคัญได้ เช่น ไฟล์นามสกุล JPG, GIF, PNG, TIF, TGA โดยไฟล์ที่โฟโตชอปจัดเก็บในรูปแบบเฉพาะของตัวโปรแกรมเอง จะใช้นามสกุลของไฟล์ว่า PSD จะสามารถจัดเก็บคุณลักษณะพิเศษของไฟล์ที่เป็นของโฟโตชอป เช่น เลเยอร์, ชันแนล, โหมดสี รวมทั้งสไลส์ ได้ครบถ้วน

2.3 ขั้นตอนการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
                สื่อที่นิยมใช้ในงานประชาสัมพันธ์มากกว่าสื่ออื่นใด ในปัจจุบันนี้ก็คือ สื่อวีดีทัศน์ วีดีทัศน์ หรือ วิดีโอ (Video) เป็นการนาเอาโทรทัศน์ (Television) หรือเนื้อหาทางวิชาการ นโยบาย การประมวลกิจกรรมการดาเนินงาน มาจัดทาเป็นรายการสั้น ๆ ใช้เป็นสื่อเพื่อการนาเสนอ การอธิบาย การสอน หรือเพื่อจุดประสงค์ใดจุดประสงค์หนึ่งตามความต้องการของผู้ผลิต วีดีทัศน์เป็นผลผลิตที่เกิดจากกระบวนการทางานอย่างมีระบบของคณะทางาน ซึ่งจะเรียกเป็นผู้ผลิต หน่วยผลิต ฝ่ายผลิต หรือบริษัทผลิตรายการ (Prodution House) เพื่อให้ได้มาซึ่งงานวีดีทัศน์ ตามความประสงค์ของงานหรือองค์กร กระบวนการดังกล่าวเรียกเป็นกระบวนการผลิตรายการซึ่งมีเทคนิคขั้นตอนดังต่อไปนี้
                1. การวางแผนการผลิต (Planning)
                                 ในขั้นตอนนี้เป็นการระดมความคิด ความเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตั้งแต่ผู้ผลิตรายการ ฝ่ายเทคนิค ฝ่ายเนื้อหา ผู้ออกแบบฉากเวที และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ประชุมปรึกษาถึงประเด็นการผลิตรายการว่าจะผลิตให้ใครดู หมายถึง กลุ่มเป้าหมายหรือผู้ดู ผู้ชม และในการผลิตรายการนั้นจะแสดงถึงอะไรบ้าง จะให้ผู้ชมได้รู้ ได้เห็นเกี่ยวกับอะไร ประเด็นสุดท้ายในการวางแผนก็คือ ผลิตรายการออกมาแล้วคาดหวังผลอย่างไร หรือเพื่อจุดประสงค์อะไรบ้าง
                2. การเขียนบท (Script)
                                  บทโทรทัศน์ หรือ บทวีดีทัศน์ เป็นการนาเอาเนื้อหาเรื่องราวที่มีอยู่หรือจินตนาการขึ้นมา เพื่อการนาเสนอให้ผู้ดู ผู้ชม ได้รับรู้อย่างพอใจ ประทับใจ ผู้เขียนบทวีดีทัศน์ (Script Writer) จึงจาเป็นต้องมีความรอบรู้ในศาสตร์และศิลป์ด้านต่าง ๆ มีความเข้าใจในธรรมชาติการรับรู้ของมนุษย์ ความศรัทธา สิ่งละอันพันละน้อย ที่จะไปทาให้กระทบกระทั่ง หรือกระทาในสิ่งที่ผิดไปจากที่สังคมยอมรับ บทวีดีทัศน์ควรจะมีการใช้ภาษาที่สละสลวย ชวนอ่าน ชวนฟัง มีการเกริ่นนา การดาเนินเรื่องและบทสรุปที่กระชับ สอดคล้องกัน รู้จักสอดแทรกมุขตลกเกร็ดความรู้ หรือเทคนิคแปลก ๆ มีลีลาที่น่าสนใจ เพื่อเป็นสีสันของเรื่องราว การเขียนบทวีดีทัศน์จะมีทั้งการร่างบทวีดีทัศน์และการเขียนบทวีดีทัศน์ฉบับสมบูรณ์ ร่างบทโทรทัศน์เป็นการวางโครงเรื่อง (Plot) ของรายการแต่ละรายการ ปกติจะแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ การเกริ่นนา (Introduction) เนื้อเรื่องหรือตัวเรื่อง (Body) และการสรุปหรือการส่งท้าย (Conclusion) การเขียนร่างบทจะเป็นการกำหนดเรื่องราวที่นาเสนอ นาเอาแก่นของเรื่อง (Theme) หรือความคิดรวบยอด (Concept) ของเรื่องมาคลี่คลาย มาขยายให้เห็นอย่างเป็นขั้นตอน มีการสอดแทรกอารมณ์ มีการหักมุม สร้างความฉงน นาเรื่องราวไปสู่จุดสุดยอด (Climax) ให้ได้ดีที่สุดร่างบทวีดีทัศน์เขียนเป็นความเรียง ที่ใช้ภาษาสละสลวย ทันสมัย สอดแทรกสาระ เกร็ดความรู้และสร้างความประทับใจ อาลัยอาวรณ์ ในที่สุด บทวีดีทัศน์ฉบับสมบูรณ์ (Full Script) หรือเรียกเป็นบทสาหรับถ่ายทา (Shooting Script) เป็นการนาเอาร่างบทมาขยายอย่างละเอียด ในลักษณะของการถ่ายทา ซึ่งจะมีลักษณะของภาพขนาดของภาพ กำหนดกล้องและการแสดงของผู้แสดง หรือ เหตุการณ์นั้น อย่าง
สมจริงคณะทางาน หรือผู้ผลิตรายการจะยึดการปฏิบัติงานตามบทวีดีทัศน์นี้ แต่ลักษณะที่เป็นจริงบท วีดีทัศน์อาจจะมีการปรับเปลี่ยนบทบ้าง ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์นั้น
              3. การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ (Preparation)
                             ในการเตรียมเพื่อการผลิตรายการนั้น คณะทางานจะเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างที่มีส่วนเอื้ออานวยต่อการทางาน เครื่องมือ อุปกรณ์ ในการถ่ายทา เตรียมสถานที่ เตรียมบุคลากรที่เกี่ยวข้องซึ่งพร้อมที่จะทางานได้ทันทีในกรณีที่ มีการเสริมแต่ง หรือแก้ไขปัญหาการถ่ายทา เพราะความไม่พร้อมของเรื่องราวเหตุการณ์และสถานที่ยิ่งต้องมีการเตรียมสิ่งต่าง ๆ เพื่อจาลองสถานการณ์ให้สมจริง เท่าที่จะทาได้ให้ดีที่สุด
                4. การบันทึก (Recording)                     
                              กระบวนการถ่ายทา จะดาเนินไปตามแผนที่ได้วางไว้ และถ่ายทาตามบท โดยมุ่งให้ได้ภาพตรงตามความต้องการมากที่สุด อาจจะถ่ายทาหลาย ๆ ครั้ง ในฉากใดฉากหนึ่ง เพื่อมาคัดเลือกหาภาพที่ดีในตอนจะตัดต่ออีกครั้งหนึ่ง ในการบันทึกแบ่งเป็น บันทึกภาพและบันทึกเสียงซึ่งการบันทึกภาพนั้นจะได้ทั้งภาพทั้งเสียงอยู่แล้ว เมื่อตัดต่อสามารถเลือกได้ว่า ช่วงไหนจะใช้แต่ภาพ หรือใช้ทั้งภาพและเสียง การบันทึกภาพ บันทึกหรือถ่ายทาตามสภาพความเป็นจริง และความจาเป็นก่อนหลัง ไม่จาเป็นต้องเรียงฉาก ตามบทวีดีทัศน์ (Script) ในการบันทึกเสียง จะบันทึกทั้งเสียงเหตุการณ์จริง เสียงสัมภาษณ์ เสียงสนทนา เสียงบรรยาย เสียงเพลงประกอบ และเสียงเหตุการณ์หรือเสียงที่นามาใช้เป็นเอฟเฟค (Sound Effect) ให้เรื่องราวน่าสนใจซึ่งกระบวนการเกี่ยวกับเรื่องเสียง จะมีการผสมเสียงอีกครั้งหนึ่ง ในกระบวนการตัดต่อภาพและเสียง
                ข้อสำคัญในการทาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสื่อวีดีทัศน์ในการผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อจุดมุ่งหมายใด ๆ ก็ตาม คณะทางานควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเนื้องาน นโยบายและกิจกรรมขององค์กร พื้นฐานของงานโทรทัศน์ หรือการทำวีดีทัศน์ไว้บ้าง เพื่อการสร้างงาน การคิดสร้างสรรค์ จะได้หลากหลาย น่าสนใจ และที่สำคัญจะช่วยให้งานดำเนินไปได้อย่างราบรื่น บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น สิ่งที่ควรรู้ ควรเข้าใจมีมากมาย อาทิ อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต เทคนิคกล้อง ชนิดของภาพ การลำดับภาพและตัดต่อภาพ การนำเสียงมาใช้ในงานวีดีทัศน์ตลอดจนการใช้กราฟิกคอมพิวเตอร์ข้อควรจำในการประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อวีดีทัศน์เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า สื่อวีดีทัศน์ เป็นสื่อที่มีความพร้อมในลักษณะของมัลติมีเดีย (Multimedia) ซึ่งได้รวบรวมเอาความโดดเด่นของรูปแบบ และแนวทางการนาเสนอที่สมบูรณ์ครบถ้วนไว้ทั้งภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ คอมพิวเตอร์กราฟิก และเทคนิคพิเศษอีกมากมายหน่วยงานหรือองค์กรใด จะผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ นอกจากจะเข้าใจถึงคุณสมบัติที่น่าสนใจดังกล่าวแล้ว ควรพิจารณาถึงประเด็นเรื่องราว
ต่าง ๆ เช่น
• จะผลิตสื่อวีดีทัศน์ สาหรับกลุ่มเป้าหมายใด การผลิตวีดีทัศน์ ควรเลือกให้เหมาะกับกลุ่มผู้ดูผู้ชม เพราะเนื้อหาเรื่องราว จะมีความเข้มข้น หรือละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกัน
• การผลิตสื่อวีดีทัศน์ต้องการแสดงถึงเนื้อหาสาระมากน้อยแค่ไหน ประเด็นของเรื่องราวหรือแก่นแท้ (Theme) จะแสดงถึงอะไรบ้าง
• การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์นี้ คาดหวังผลอะไรบ้าง ถ้าหากรู้ถึงวัตถุประสงค์หรือความคาดหวังถึงผลที่ได้จากสื่อที่ผลิต จะช่วยให้เนื้อหาเรื่องราวในวีดีทัศน์ตรงประเด็นได้มากขึ้น
• ในกระบวนการผลิตวีดีทัศน์ได้มีการประสานงานกับบุคลากรระดับสูงผู้บังคับบัญชา หรือผู้เกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดเพื่อความเข้าใจในเรื่องราวเพื่อความถูกต้องและการประสานสัมพันธ์ที่ดีในการทำงาน
• ผู้ผลิตควรเข้าใจถึงประเด็นในการทาวีดีทัศน์ ถึงความเหมาะสมของเรื่องราวความโดดเด่น หรือความน่าจะเป็นของการเลือกสิ่งที่นาเสนอ ทั้งบุคลากร สถานที่กิจกรรมหรือเหตุการณ์ตลอดจนข้อมูลต่างๆ พยายามหามุมมองที่มีคุณค่า เลือกสิ่งที่น่าสนใจออกมานาเสนอซึ่งบางครั้งอาจมีการเสริมแต่งบ้างก็ควรต้องเลือก ต้องพยายาม เพื่อให้ได้สื่อวีดีทัศน์ที่น่าสนใจ
• คณะทางานควรเปิดใจกว้าง ในการวิพากษ์และตรวจทานผลงาน เพื่อจะได้ปรับปรุงและสรรค์สร้างงานให้มีประสิทธิภาพ









                                                                    บทที่ 3
อุปกรณ์และวิธีการดำเนินการ

                การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน คณะผู้จัดทำโครงงานมีวิธีการดำเนินงานโครงงาน ตามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
                3.1 ขั้นตอนการดำเนินการ
                3.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                3.3 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน

3.1 ขั้นตอนการดำเนินการ
             1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
2. ศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับโครงงานในการสร้างสื่อวีดีทัศน์
3. ศึกษาโปรแกรม Final cut pro ในการสร้างสื่อ
4. จัดทำโครงร่างโครงงานเสนออาจารย์ที่ปรึกษา
5. ออกแบบสื่อวีดีทัศน์
6. จัดทำโครงงานสร้างสื่อวีดีทัศน์ เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน
7. เผยแพร่ผลงานโดยการนำเสนอผ่านสื่อวีดีทัศน์
8. ทำเอกสารสรุปรายงานโครงงาน
9. นำเสนอโครงงาน

3.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
                1. ศึกษา เรื่อง ประชาคมอาเซียน 
  2. ศึกษา เรื่อง การทำงานของตัวโปรแกรมต่างๆ ได้แก่

                 - โปรแกรม Final  cut  pro
                 - โปรแกรม Motion 5
                 - โปรแกรม Adobe sound booth cs5
                 -  โปรแกรม Adobe Photo shop cs5

  3. จัดทำสื่อที่จะใช้สำหรับนำเสนอ โดยใช้โปรแกรมที่ศึกษามาข้างต้น
  4. นำเสนอสื่อที่จัดขึ้นเพื่อเป็นองค์ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน

3.3 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
  1. เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                2. ซอฟต์แวร์
โปรแกรม Final  cut  pro
โปรแกรม Motion 5
 - โปรแกรม Adobe sound booth cs5
- โปรแกรม Adobe Photo shop cs5






บทที่ 4
ผลการดำเนินงาน

                จากการศึกษา การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์พัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา เรื่อง สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน เนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน มีผลการดำเนินงานโครงงาน ดังนี้

4.1 ผลการพัฒนาโครงงาน
                การพัฒนาโครงงาน สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียนที่ประเทศไทยได้เข้าร่วม และจะก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในพุทธศักราช 2558 นี้ คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนการดำเนินงานที่ได้วางแผนไว้ และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานผ่านทางเครือข่ายระบบอินเทอร์เน็ต www.youtube.com ที่สามารถเข้าถึงได้ทุกเวลาและทุกสถานที่ เป็นแหล่งเรียนรู้ในโลกออนไลน์และรวดเร็วในการรับข้อมูล



4.1 ภาพผลงานสื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน










บทที่ 5
สรุปผลการดำเนินงาน


การจัดทำโครงงานคอมพิวเตอร์ การสร้างสื่อเพื่อการศึกษาอาเซียนสามารถสรุปผลการดำเนินงานโครงงานและข้อเสนอแนะ ดังนี้

5.1 การดำเนินงานจัดทำโครงงาน
                5.1.1 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
                               1. เพื่อสร้างเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
                               2. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
                               3.เพื่อคนที่สนใจในอาเซียนจะได้มีความรู้ด้านนี้

                5.1.2 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                              1. ผู้ที่สนใจมีความเข้าใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน
                              2. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการสร้างสื่อวีดีทัศน์
                              3. ได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีคุณค่าและทาให้เกิดประโยชน์
       
  5.1.3 วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนาโครงงาน
1. เครื่องคอมพิวเตอร์พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
2. ซอฟต์แวร์
          - โปรแกรม Final cut pro
          - โปรแกรม Motion 5
          - โปรแกรม Adobe sound booth cs5
          -  โปรแกรม Adobe Photo shop cs5

5.2 สรุปผลการดำเนินงานโครงงาน
   การดำเนินงานโครงงานนี้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ คือ เพื่อเป็นสื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน สื่อเพื่อการศึกษาอาเซียน เป็นสื่อวีดีทัศน์นาเสนอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www.youtupe.com ที่มีทั้งภาพและเสียงสร้างความสนใจช่วยพัฒนาให้ความรู้ของผู้ชม มีความเข้าใจ เห็นความสำคัญของประชาคมอาเซียนที่จะเข้ามามีบทบาทในประเทศไทย สื่อวีดีทัศน์เพื่อการศึกษาอาเซียน จึงเป็นสื่อที่มีประโยชน์ เป็นการนำซอฟต์แวร์มาพัฒนาประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ
เกิดประโยชน์


5.3 ข้อเสนอแนะ
                  1. ควรมีการจัดทำเนื้อหาของรายงานให้หลากหลายและมีเนื้อหาที่ออกมาหลายๆรูปแบบ
                2. ควรที่จะศึกษาวิธีการใช้โปรแกรมให้ละเอียดมากกว่านี้เพื่อที่จะไม่เสียเวลาในการทำ
                  3. ควรแบ่งเวลาให้เหมาะสมในการทำงานเพื่อผลงานจะได้ออกมาดีกว่านี้




บรรณานุกรม

                สหัสวรรษ ชมงาม. โครงงานคอมพิวเตอร์บูรณาการร่วมกับวิชาภาษาไทย.  ( ออนไลน์ ).
                                แหล่งที่มา : http://sahatsawat11160.blogspot.com/2015/02/blog-post.html. 2559.
                ปวีณา โสมเสนาะ. โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ก้าวไกลนำไทยสู่อาเซียน( ออนไลน์ ).
                                แหล่งที่มา : http://15192829a.blogspot.com/2014/11/blog-post.html. 2559.
                จูมล่าลายไทย. การตัดต่อวิดีโอด้วย Final Cut  pro  ( ออนไลน์ ).
                                แหล่งที่มา : http://www.vdoschool.com/vdo/index.php/how-to-editing-video/final-cut-                             pro-x.html. 2559.
                ____________. ความรู้เกี่ยวกับประชาคมอาเซียน. ( ออนไลน์ ).
                                แหล่งที่มา : http://www.lampangvc.ac.th/lvcasean/page_asean.htm. 2559.
                สุชาติ พรมมี. การทำ motion tracking ใน motion 5. ( ออนไลน์ ).
                                แหล่งที่มา : http://athurlouise-photo.blogspot.com/2011/11/motion-tracking-motion-                                 5.html. 2559.









ภาคผนวก


ภาพที่ 1  ร่วมกันวางแผนในการจัดทำสื่่อเพื่อการศึกษา



ภาพที่ 2  เปิดโปรแกรมที่จะใช้ในการสร้างสื่อ



ภาพที่ 3  เลือกรูปภาพที่จะใช้ในการสร้างสื่อ





ภาพที่  4  เลือกเพลงที่จะใช้ประกอบสื่อ




ภาพที่ 5  การสร้างสื่อเพื่อการศึกษาเป็นไปตามที่วางแผนไว้  พร้อมที่จะนำเสนอ










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น